วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

พันธะเคมี

 

รายงาน เรื่อง พันธะเคมี

ประจำวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี)

ว 30121

 

จัดทำโดย

 

นาย อเนชา สืบตระกูล เลขที่ 9

นาย ปิยพัฒน์ เครือชะเอม เลขที่ 16

 

เสนอ

 

นางอาภาภรณ์  ชูอรุณ

 

โรงเรียนถวารานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 

ปีการศึกษา 2563

ความหมายพันธะเคมี

 

             คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือ ปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงเหมาะสม และอาจเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิกหรือพันธะโลหะ

 

     การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้

 

 

     พันธะโลหะ

 เป็นพันธะโลหะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน  อิสระระหว่างแลตทิชของอะตอมโลหะ  ดังนั้น พันธะโลหะจึงเปรียบได้เหมือนกับเกลือที่หลอมเหลวออะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอก หรือระดับพลังงานของพวกอิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอนล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก  ไม่สานารถเขียนสูตรเคมีได้ เพราะไม่ทราบจำนวนที่แท้จริงของพันธะโลหะ

 

  ตัวอย่างสารประกอบ

1.  สำริต

2.  เหล็กกล้า

3.  เงิน

4.  ตะกั่ว

5.สังกะสี

 

    

 คุณสมบัติ

1.มีความแข็งแรง

2.สามารถตีแผ่เป็นได้

3.สามารถดึงเป็นเส้นได้

4.นำความร้อนได้เยี่ยมและนำไฟฟ้าได้ดี

5.เนื้อมีความมันเงา

 

 

 

 

 ประโยชน์

1.ใช้ในการสร้างอาคาร ,บ้านเรือน

2.ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ

3.ใช้นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี

 

 

     พันธะไอออนิก (ionic bonds)

 

1.ความหมาย  พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก และไอออนลบ  อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ  โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน

 

 

 

 

2.ตัวอย่างประกอบ

 

     NaCl         โซเดียมคลอไรด์

     BaBr2        แบเรียมโบรไมด์

     Co (NO3)2  โคบอลต์ (II) ไนเทรต

     CaC2O4     แคลเซียมออกซาเลต

     Co (NO3)3  โคบอลต์ (III) ไนเทรต3.คุณสมบัติ

 

1.มีขั้ว สารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก

 

2.นำไฟฟ้าได้ เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้

 

3.มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เพราะต้องการพลังงานความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวหรือกลายเป็นไอตามที่ต้องการ

 

 

 

4.การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็ก้โทรไลต์ในถ่านไฟฉาย

 

พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า

 

ซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด

 

ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นำความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ

 

  

     พันธะโคเวเลนต์

 

1.ความหมาย  คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอ ๆ กับพันธะไอออนิก2.ตัวอย่างประกอบ

 

สารประกอบโคเวเลนต์ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. โมเลกุลของธาตุ หมายถึงสารประกอบโคเวเลนต์ที่ในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมายึดกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น H2, O2,Br2 ,N2 ,F2 ,Cl2เป็นต้น 

2. โมเลกุลของสารประกอบ หมายถึง สารประกอบโคเวเลนต์ที่ในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มายึดกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น HCl , CH4, H2O , H2SO4 ,HClO4เป็นต้น

 

 

3.คุณสมบัติ

สมบัติทางกายภาพ

สารประกอบโคเวเลนต์

สถานะ (ที่อุณหภูมิห้อง)

ของแข็งของเหลวแก๊ส

การนำไฟฟ้า

โดยปกติไม่มี

จุดเดือดและจุดหลอมเหลว

มีหลายค่า โดยทั่วไปจะต่ำกว่าสารประกอบไอออนิก

การละลายในน้ำ

มีหลายค่า โดยทั่วไปจะต่ำกว่าสารประกอบไอออนิก

การนำความร้อน

โดยทั่วไปต่ำ

 

4.การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1. เมื่อให้ความร้อนแก่สารจนกระทั่งโมเลกุลของสารมีพลังงานสูงพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะ   น้ำแข็ง (ให้พลังงานความร้อน) เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำ(ของเหลว) ให้พลังงานความร้อน เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำสารบางชนิดอาจแยกสลายออกเป็นสารหลายชนิดได้2. เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าโมเลกุลของสารบางชนิดจะสลายตัวให้ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ เช่นการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า

พันธะเคมี

  รายงาน เรื่อง พันธะเคมี ประจำวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี) ว 30121   จัดทำโดย   นาย อเนชา สืบตระกูล เลขที่ 9 นาย ปิยพัฒน์ เค...